วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ศทอ.ชัยนาท ชวนมาทำความรู้จัก ด้วงเต่า ‼️ ตัวดี ตัวร้าย

📢✨ ศทอ.ชัยนาท ชวนมาทำความรู้จัก ด้วงเต่า ‼️ ตัวดี ตัวร้าย จะได้รู้กันว่าตัวไหนกันแน่ที่ช่วยควบคุมศัตรูพืชให้กับเราได้ 🔆✨
👉🏻 ด้วงเต่า (ตัวดี) ศัตรูธรรมชาติ >> ตัวกลมๆ ผิวมันวาว สีสันสดใส ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นตัวดี ✅
ช่วยควบคุมศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งเพลี้ยหอย ไรศัตรูพืช และไข่ของแมลงศัตรูพืช โดยการกัดกินหรือ ถูกเรียกง่าย ๆ กันว่า "ตัวห้ำ" นั่นเอง 🐞
👉🏻 ด้วงเต่า (ตัวร้าย) ศัตรูพืช >> พบบ่อย ๆ คือ ด้วงเต่าแตง ตัวยาวรี สีส้มสด ‼️ และ ด้วงเต่ามะเขือ ผิวด้านไม่มันวาว มีจุดเยอะ ‼️ ทำลายพืชผักของเราโดยการกัดกินใบพืช หากพบในแปลงไม่มาก สามารถจัดการได้ง่ายๆ โดยการหยิบ/จับ ไปทำลายนอกแปลง หรือใช้สารสกัดสะเดาฉีดพ่น ช่วงเย็น เพื่อเป็นการป้องกัน กำจัด ✅✨




วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ศทอ.ชัยนาท ติดตามผลการดำเนินงานและสนับสนุนสารชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชให้กับสำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี และสำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร

 วันที่ 30 มิถุนายน 2568 นางบรรจง บุญมาทรัพย์ไพศาล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชัยนาท มอบหมายให้นายวรัญญู พิสฐศาสน์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ติดตามผลการดำเนินงานและสนับสนุนสารชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชให้กับสำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี และสำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามโครงการส่งเสริมการจัดการสุขภาพพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยสนับสนุนหัวเชื้อจุลินทรีย์ จำนวน 74 ขวด จุลินทรีย์พร้อมใช้ จำนวน 310 กิโลกรัม แมลงหางหนีบ จำนวน 40,000 ตัว แมลงช้างปีกใส จำนวน 3,000 ตัว มวนพิฆาต จำนวน 300 ตัว แตนเบียนทริโคแกรมมา จำนวน 100 แผ่น และแตนเบียนบราคอน จำนวน 15,000 ตัว





ศทอ.ชัยนาท ติดตามผลการดำเนินงานและสนับสนุนสารชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช ให้กับสำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี และลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ศัตรูของข้าวในจังหวัดลพบุรี

 วันที่ 30 มิถุนายน 2568 นางบรรจง บุญมาทรัพย์ไพศาล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชัยนาท มอบหมายให้นางสาวฉัตรนัททรี กันทะลา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯติดตามผลการดำเนินงานและสนับสนุนสารชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช ให้กับสำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี ตามโครงการส่งเสริมการจัดการสุขภาพพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยสนับสนุนหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา 60 ขวด พร้อมใช้ไตรโคเดอร์มา 50 กิโลกรัม หัวเชื้อเมตาไรเซียม 20 ขวด พร้อมใช้เมตาไรเซียม 10 กิโลกรัม พร้อมใช้บิวเวอเรีย 40 กิโลกรัมและแตนเบียนบราคอน 2,000 ตัว เพื่อสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่และลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ศัตรูของข้าวในจังหวัดลพบุรี พบการเข้าทำลายของแมลงหวี่ขาวข้าว เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก โรคใบจุดสีน้ำตาลเพื่อเตรียมแจ้งการเฝ้าระวังในพื้นที่ต่อไป





 

✨️🌿🌞"เราปรับ...โลกเปลี่ยน"🌞🌿✨️
กรมส่งเสริมการเกษตร ชวนปรับไลฟ์สไตล์ช่วยลดโลกร้อน ด้วยกิจกรรมง่ายๆ ที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน
อาจเป็นลายเส้นรูป แผนที่, แผนผังในอาคาร และ ข้อความ