วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566

ศทอ.ชัยนาท ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ครบรอบ 106 ปีธงชาติไทย

 วันที่ 28 กันยายน 2566 นายบพิตร ปริปุณณากร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชัยนาท พร้อมด้วยข้าราชการ พนักงานราชการ ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ครบรอบ 106 ปีธงชาติไทย เพื่อแสดงออกถึงความภาคภูมิใจของคนในชาติ และเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชการที่ 6 ได้ทรงพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ซึ่งธงชาติถือเป็นสัญลักษณ์อันสูงสุดของชาติ ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชัยนาท







วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566

รู้ไหมว่าเราทุกคนสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ผ่านการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน

 รู้ไหมว่าเราทุกคนสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ผ่านการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน

#76จังหวัด76คํามั่นสัญญา กระทรวงมหาดไทยร่วมขับเคลื่อน

เป้าหมาย SDGs ทั้ง 17 ข้อ เพื่อบรรลุ SDGs ภายในปี 2030!โลกของเราจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะภาครัฐภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมถึงประชาชนทุก ๆ คนโดยนําความรู้ ความเชี่ยวชาญและทรัพยากรที่แตกต่างกันมาพลิกโฉมสังคมไทยให้มีความรุ่งเรือง มั่งคั่ง ยั่งยืน และครอบคลุม

#กระทรวงมหาดไทยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการดําเนินงานโครงการต่าง ๆผ่านกลไกการทํางานของกระทรวงมหาดไทย ทั้ง 76 จังหวัด878 อําเภอ พร้อมด้วย 7 ภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคศาสนาภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและภาคสื่อสารมวลชนบูรณาการการทํางานร่วมกันเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้น Change forGood ได้อย่างเป็นรูปธรรม

.และนี่คือส่วนหนึ่งในการดําเนินการของกระทรวงมหาดไทยเพื่อบรรลุ“17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ของ UNโดยการบูรณาการความร่วมมือภาคีเครือข่าย คือหมุดหมาย SDGs ในมิติหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) ของUN ที่ประกอบด้วย

#SDG17 ร่วมมือเพื่อพิชิตเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนพวกเราทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมมือกันเพื่อพิชิตเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีเหล่านี้นํา SDGs มาปรับใช้ในชีวิตประจําวันพูดคุยกับผู้คนรอบข้างและใช้พื้นที่บนโลกออนไลน์ของคุณเพื่อเชิญชวนให้ทุกคนมาทําความเข้าใจและสนับสนุน SDGs ไปด้วยกันร่วมเป็นอาสาสมัครในกิจกรรมที่ขับเคลื่อน SDGsไม่ว่าจะในรูปแบบลงพื้นที่หรือบนแพลตฟอร์มออนไลน์

__________

SDGs หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเริ่มขึ้นในปี2015และจะจบลงในปี 2030 ในช่วงเวลา 7 ปีสุดท้ายจึงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนในการร่วมมือร่วมใจกันเพื่อให้โลกของเราบรรลุ SDGs ได้ทันเวลา

.อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SDGs ทั้ง 17 ข้อได้ที่: https://thailand.un.org/th/sdgs

#SDGSummit #17SDGsแค่นี้เราทําได้







วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2566

ศทอ.ชัยนาท สำรวจโรคแมลงศัตรูเผือก ของเกษตรกร อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี

 วันที่ 25 กันยายน 2566 นายบพิตร ปริปุณณากร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชัยนาทมอบหมายให้ นายวรัญญู พิสฐศาสน์ และน.ส.ฉัตรนัททรี กันทะลา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ลงพื้นที่ร่วมกับกลุ่มอารักขาพืชสำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี สำรวจโรคแมลงศัตรูเผือก ของเกษตรกร อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี จากการสำรวจพบว่าเป็นโรคใบจุดตาเสือของเผือกสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora colocasiae Rac. ระบาดทั้งแปลง จึงได้หาแนวทางการควบคุมโรครวมกันกับเจ้าของแปลงโดยใช้วิธีผสมผสาน ในฤดูปลูกถัดไป







ศทอ.ชัยนาท เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการศูนย์ติดตาม และแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านพืช ระดับภูมิภาค

 วันจันทร์ที่ 25 กันยายน 2566 เวลา 13.00 น. – 16.00 น. นายบพิตร ปริปุณณากร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยี การเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชัยนาท พร้อมนายภาณุ ภาณุเวช นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านพืชระดับภูมิภาค เพื่อติดตามสถานการณ์ภูมิอากาศ สถานการณ์น้ำและการเพาะปลูก เพื่อประเมินความเสี่ยงและผลกระทบหรือความเสียหายด้านพืชในพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีนางดวงสมร พฤฑฒิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท เป็นประธาน






ร่วมสังคมแห่งความปรองดอง เคารพความแตกต่าง สร้างสังคมที่มั่นคงและมีความสุข

 ร่วมสังคมแห่งความปรองดอง เคารพความแตกต่าง สร้างสังคมที่มั่นคงและมีความสุข 🕊📈

.#76จังหวัด76คํามั่นสัญญา กระทรวงมหาดไทยร่วมขับเคลื่อนเป้าหมาย SDGs ทั้ง 17 ข้อ เพื่อบรรลุ SDGs ภายในปี 2030!

#กระทรวงมหาดไทย ได้เล็งเห็นความสําคัญของการส่งเสริมความสามัคคี สร้างความปรองดอง บนพื้นฐานของการยึดหลักสิทธิมนุษยชน และเคารพความแตกต่างทางเพศ ศาสนา เชื้อชาติ ภาษา ผ่านการดําเนินโครงการ “หมู่บ้านคุณธรรม” ที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม เพื่อทําให้ทุกพื้นที่เป็น "หมู่บ้านคุณธรรม" ที่ประชาชนทุกคนมีความสุขอย่างยั่งยืน ผ่านการผนึกกําลังของภาคีเครือข่าย (Partnership) โดยเฉพาะผู้นําภาคศาสนาที่เป็นเสาหลักและศูนย์รวมจิตใจ

.และนี่คือส่วนหนึ่งในการดําเนินการของกระทรวงมหาดไทยเพื่อบรรลุ“17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ของ UNโดยการสร้างสังคมแห่งความปรองดอง คือหมุดหมาย SDGs ในมิติสันติภาพและสถาบัน (Peace) ของ UN ที่ประกอบด้วย #SDG16 สันติภาพและสถาบันที่เข้มแข็งพวกเราทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมมือกันเพื่อพิชิตเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีเหล่านี้ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติเคารพความแตกต่างของอัตลักษณ์ทางเพศ ภาษาเชื้อชาติ หรือศาสนาร่วมกันสร้างสังคมแห่งความปรองดองอย่างยั่งยืน

__________

SDGs หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเริ่มขึ้นในปี 2015และจะจบลงในปี 2030 ในช่วงเวลา 7 ปีสุดท้ายจึงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนในการร่วมมือร่วมใจกันเพื่อให้โลกของเราบรรลุ SDGs ได้ทันเวลา

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SDGs ทั้ง 17 ข้อได้ที่: https://thailand.un.org/th/sdgs

#SDGSummit #17SDGsแค่นี้เราทําได้







วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2566

รู้หรือไม่? โลกได้เข้าสู่ “ภาวะโลกเดือด” หลังเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์...

 รู้หรือไม่? โลกได้เข้าสู่ “ภาวะโลกเดือด” หลังเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์...

#76จังหวัด76คํามั่นสัญญา กระทรวงมหาดไทยร่วมขับเคลื่อน

เป้าหมาย SDGs ทั้ง 17 ข้อ เพื่อบรรลุ SDGs ภายในปี 2030!

#กระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมขับเคลื่อนแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

เร่งแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของประเทศไทยและประชาคมเพื่อไปสู่สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ ผ่านการคัดแยกขยะในครัวเรือน และดําเนินการจัดทํา “โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน“ ส่งผลให้ได้รับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตจากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 2 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เกิดการซื้อขายคาร์บอนเครดิต สร้างเป็นรายได้กลับคืนสู่หมู่บ้าน/ชุมชนเพื่อใช้เป็นทุนในการพัฒนาในพื้นที่ต่อไป ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนี้ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับครัวเรือนผ่านกลไกของรัฐและภาคประชาสังคมแบบบูรณาการแล้ว ยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม

.และนี่คือส่วนหนึ่งในการดําเนินการของกระทรวงมหาดไทยเพื่อบรรลุ“17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ของ UNโดยการแก้ไขปัญหาโลกร้อน คือหนึ่งในหมุดหมายSDGs ในมิติสิ่งแวดล้อม (Planet) ของ UN ที่ประกอบด้วย

#SDG6 การเข้าถึงน้ําสะอาดสําหรับอุปโภคบริโภค #SDG12การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน #SDG13 รับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ #SDG14 นิเวศทางทะเลและมหาสมุทร #SDG15 ระบบนิเวศบนบกพวกเราทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมมือกันเพื่อ

พิชิตเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีเหล่านี้

1. จัดเตรียมภาชนะหรือถังพลาสติกที่มีฝาปิด

2. นําภาชนะมาเจาะรูหรือตัดก้น

3. นําเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้มาทิ้งในถังที่ฝังไว้ และปิดฝาให้มิดชิด

4. เติมน้ําหมักจุลินทรีย์ หรือไส้เดือนในดิน จะช่วยย่อยสลายเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ยได้เร็วขึ้น

5. เมื่อทิ้งเศษอาหารจนเต็มภาชนะแล้วให้กลบด้วยดินแล้วย้ายถังไปตามขั้นตอนเดิมที่จุดอื่นต่อไป

__________

SDGs หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเริ่มขึ้นในปี 2015และจะจบลงในปี 2030 ในช่วงเวลา 7 ปีสุดท้ายจึงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนในการร่วมมือร่วมใจกันเพื่อให้โลกของเราบรรลุ SDGs ได้ทันเวลา

.

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SDGs ทั้ง 17 ข้อได้ที่: https://thailand.un.org/th/sdgs

#SDGSummit #17SDGsแค่นี้เราทําได้








วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2566

อาหารคือจุดเริ่มต้นของชีวิต ปลูกผักกินเอง สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน

 อาหารคือจุดเริ่มต้นของชีวิต ปลูกผักกินเอง สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน

#76จังหวัด76คํามั่นสัญญา กระทรวงมหาดไทยร่วมขับเคลื่อน

เป้าหมาย SDGs ทั้ง 17 ข้อ เพื่อบรรลุ SDGs ภายในปี 2030!

#กระทรวงมหาดไทย น้อมนําพระราชดําริกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขับเคลื่อนโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” และ “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” มุ่งกระตุ้นให้คนทุกเพศทุกวัยรู้จักการเพาะปลูก การบํารุงรักษา และการเก็บเกี่ยว สร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคมการทํางาน ขยายไปสู่ครัวเรือน ชุมชน สังคม ทําให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต่อยอดไปสู่การนําไปขาย เป็นการสร้างรายได้ลดรายจ่าย ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นลดความเหลื่อมล้ํา สร้างภูมิคุ้มกันตนเองและครอบครัวอย่างยั่งยืน

.และนี่คือส่วนหนึ่งในการดําเนินการของกระทรวงมหาดไทยเพื่อบรรลุ“17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ของ UNโดยประเด็นด้านความมั่นคง มั่งคั่ง ลดความเหลื่อมล้ํา คือหนึ่งในหมุดหมาย SDGs ในมิติเศรษฐกิจ (Prosperity)ของ UN ที่ประกอบด้วย #SDG7 พลังงานสะอาดและเข้าถึงได้

#SDG8 การเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานที่ดี#SDG9
อุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรม #SDG10 ลดความเหลื่อมล้ํา #SDG11เมืองและชุมชนยั่งยืนพวกเราทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมมือกันเพื่อพิชิตเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีเหล่านี้ปลูกพืชผักสวนครัวในพื้นที่บริเวณบ้านตามที่กิน หากเหลือให้แจกจ่าย หรือต่อยอดสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวนําเศษอาหารไปหมักเป็นปุ๋ย วิธีนี้ ดินจะได้สารอาหารอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ที่เป็น 1 ในสาเหตุของภาวะโลกร้อนอีกด้วยซื้อและตักอาหารแค่พอทาน ไม่เหลือทิ้ง

__________

SDGs หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเริ่มขึ้นในปี 2015และจะจบลงในปี 2030 ในช่วงเวลา 7 ปีสุดท้ายจึงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนในการร่วมมือร่วมใจกันเพื่อให้โลกของเราบรรลุ SDGs ได้ทันเวลา

.

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SDGs ทั้ง 17 ข้อได้ที่:https://thailand.un.org/th/sdgs

#SDGSummit #17SDGsแค่นี้เราทําได้







วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2566

ศทอ.ชัยนาท เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร

 วันที่ 21-22 กันยายน 2566 นายบพิตร ปริปุณณากร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชัยนาท มอบหมายให้นางสาวฉัตรนัททรี กันทะลา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร  ณ โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ กรุงเทพมหานคร สำหรับการการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ มีความรู้ ความเข้าใจโครงการ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ กระบวนการ เทคนิคการผลิต การเพาะเลี้ยง การใช้ประโยชน์จากแหนแดง และกระบวนการทางการวิจัยให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ให้สามารถดำเนินการศึกษาวิจัยให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และที่สำคัญเพื่อให้ผู้ร่วมวิจัยได้แลกเปลี่ยนปัญหา อุปสรรค และร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ไขในการดำเนินโครงการต่อไป โดยมีนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดการประชุมครั้งนี้















ศทอ.ชัยนาท เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการ กรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 22 กันยายน 2566 นายบพิตร ปริปุณณากร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชัยนาท เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการ กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 กันยายน 2566 ณ โรงแรมเบสท์เวสเทิร์น นาดาดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการกรมส่งเสริมการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ โดยมีนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานการประชุม









ศทอ.ชัยนาท เข้าร่วมประชุมชี้แจงการปฏิบัติงานในระบu New GFMIS Thai และแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ e-GP ช่วงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2566

วันที่ 22 กันยายน 2566 นายบพิตร ปริปุณณากร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชัยนาท มอบหมายให้นางสาวสาลินี สวนแก้ว และนางสาวจุฑาทิพย์ เกิดศรี เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน เข้าร่วมประชุมชี้แจงการปฏิบัติงานในระบบ New GFMIS Thai และแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ e-GP ช่วงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ณ ห้องประชุมศูนย์ราชการกระทรวงการคลัง ชั้น 6 อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท